บริษัทนีโอเจนส์ จำกัด (NEO GENs Co.,Ltd.) ตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2560 โดยนายนพดล วีรกิตติ และนางสาวชุมพูนุท วีรกิตติ อดีตผู้บริหาร ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center - TCDC)
นีโอ เจนส์ (Neo Gens) เป็นชื่อที่ตั้งใจสื่อถึงภาระกิจและวิสัยทัศน์ของบริษัท
Neo มีความหมายตรงตัวคือ ใหม่ เช่น สิ่งใหม่ ของใหม่ ความคิดใหม่
Gens เป็นคำย่อที่ตั้งใจให้เป็นตัวแทนของคำ 2 คำคือ
Generation คือยุคสมัย เมื่อผสมกันกลายเป็น Neo Gens ในที่นี้หมายถึง คนยุคใหม่หรือคนรุ่นใหม่ ที่ไม่ได้จำกัดนิยามกันด้วยอายุหากแต่เป็นวิธีคิด ตัวอย่างเช่น คนอายุสี่สิบปลายๆ แต่มีความเข้าใจและใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็นับเป็น คนรุ่นใหม่ ตามนิยามของ Neo Gens เป็นต้น
และ Generalist เป็นคำที่หยิบยืมมาจากหนังสือ The Neo-Generalist: Where you go is who you are เขียนโดย Kenneth Mikkelsen กับ Richard Martin ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายถึง มนุษย์พันธ์ใหม่ที่มีความรู้และทักษะในลักษณะผสมผสานระหว่างผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง (Specialist) ขณะเดียวกันก็มีความรอบรู้และทักษะด้านอื่นๆ ในหลากหลายมิติ (Generalist) เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมและการทำงานในโลกศตวรรษที่ 21
ความรู้แบบ Neo-Generalist เปรียบเสมือนความรู้แบบตัว T คือ รู้เชิงลึกหรือเชี่ยวชาญในบางด้าน (หางตัว T) ขณะเดียวกันก็รอบรู้เรื่องอื่นๆ เป็นอย่างดี (หัวตัว T)
ตัวอย่างเช่น เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ขณะเดียวกันก็มีความสนใจด้านเศรษฐกิจ ปรัชญา จิตวิทยา กระบวนการคิดเชิงออกแบบ การออกแบบ ศิลปะ ต่างๆ และสามารถผสมผสานความรู้และทักษะเหล่านั้น ให้กลายเป็นผลงานหรือวิธีคิดในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิผลมากกว่าการใช้วิธีคิดแบบเดิมๆ
ตัวอย่างของบุคคลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น Neo-Generalist เช่น Steve Jobs, Elon Musk, Richard Branson หรือ Leonardo da Vinci เป็นต้น
โดยสรุป บริษัท Neo Gens มีความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนรุ่นใหม่ (New Generation) ที่มีแนวคิด+การทำงาน+การใช้ชีวิตแบบ Neo-Generalist ที่จะช่วยผลิตองค์ความรู้และวิธีการใหม่ๆ ให้กับสังคมไทยผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น การเป็นที่ปรึกษาหน่วยงาน ที่ปรึกษาโครงการ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น
บริษัท Neo Gens มีความเชี่ยวชาญและความมุ่งมั่นในการใช้แนวคิดและเครื่องมือบริหารจัดการความรู้สมัยใหม่เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาปรับปรุงการทำงานของ คน ในองค์กรต่างๆ ให้สามารถใช้ประโยชน์จากความรู้และทักษะใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาและพัฒนาวิธีการที่ตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรและลูกค้าทั้งในเชิงมูลค่าทางธุรกิจ (Business Value) และคุณค่าทางความรู้ (Knowledge Value) ในบริบทของโลกศตวรรษที่ 21