โดยทั่วไป แผนก Facility Management เป็นแผนกที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากคนทำงานทั่วไปเท่าไหร่ ในเชิงบริหารก็มักจะถูกมองว่าเป็น Cost Center เป็นแผนกที่มีแต่รายจ่ายเพื่อการบำรุงรักษาระบบเป็นเงินงบประมาณก้อนใหญ่ทุกปี
และแม้ว่าจะเป็นแผนกที่ต้องดูแลงานระบบต่างๆ ของอาคารทั้งระบบปรับอากาศ ระบบไฟฟ้า ประปา ดับเพลิง ระบบรักษาความปลอดภัย ที่เมื่อรวมๆ กันแล้วเป็นสินทรัพย์ที่มีสัดส่วนการลงทุนสูงมาก แต่ที่อยู่ของแผนกนี้ มักจะเป็นพื้นที่หลังบ้านที่ห่างไกลผู้คน และเป็นแผนกที่อยู่ในลำดับต้นๆ ที่จะถูกตัดงบประมาณ ภาพลักษณ์ของพนักงานในแผนกก็เป็นวิศวกรนายช่างที่วันๆ ทำงานอยู่กับงานระบบ ไม่ค่อยได้พบเจอผู้คน และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจขององค์กรเท่าไหร่นัก
ทีนี้ลองนึกภาพแผนก Data Driven Facility Management หรือ DDFM ในมิติใหม่ ที่กลายร่างจาก Cost Center ไปเป็น Value Center
พนักงานแผนก DDFM นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากอุปกรณ์ sensors และงานระบบผ่าน Analytic Software ให้ผู้บริหารเห็นรูปแบบการสัญจรและการใช้พื้นที่ของลูกค้าในแต่ละชั้นของอาคาร แยกตามอายุ เพศ สัญชาติ. เปรียบเทียบกับมูลค่าการใช้จ่ายซื้อสินค้าของลูกค้าแต่ละคน และร่วมกันวิเคราะห์เพื่อออกแบบปรับปรุงพื้นที่ไปในทางที่เป็นประโยชน์กับการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าทางธุรกิจมากที่สุด
หรือ
พนักงานแผนก DDFM นำเสนอรายงานความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายของร้านค้าในบริเวณพื้นที่ที่แปรผันตามคะแนนความพึงพอใจของลูกค้าเรื่องความสะอาดของห้องน้ำในบริเวณพื้นที่เดียวกัน
หรือ
พนักงานแผนก DDFM นำเสนอข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งและรูปแบบของ Signage กับรูปแบบการหลงทางของลูกค้าในอาคาร เพื่อเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evident Based) สำหรับการออกแบบ Way Finding ใหม่ในอาคาร
ดีมั้ยครับ ถ้าจะมีแผนก DDFM อยู่ในองค์กรของเรา
ถ้าดูเผินๆ ในเชิงโครงสร้างองค์กรทั่วไป แผนก DDFM จะใกล้เคียงกับการรวมแผนก IT กับแผนก FM เข้าด้วยกัน แต่ในชีวิตจริง ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น
สาเหตุหลักก็เพราะ พนักงานในสองแผนกนี้มีความรู้และทักษะไปกันคนละทิศและทาง แม้จะเป็นเรื่องเทคโนโลยีเหมือนกัน
ที่ยากเพิ่มขึ้นก็คือ ในสถานการณ์ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความรู้และทักษะดั้งเดิมของคนทั้งสองแผนก เริ่มจะล้าสมัย และเริ่มไม่เป็นที่ต้องการในยุคที่องค์กรกำลังปรับตัวเข้าสู่ digital transformation
ในยุคที่การใช้การเช่าใช้บริการในลักษณะ As-A-Services Model บนระบบ Cloud เริ่มมีประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการเหนือกว่าการลงทุนเองทุกอย่าง การลดขนาด (Downsizing) แผนก IT กำลังกลายเป็นเทรนด์ในโลกธุรกิจอย่างต่อเนื่อง งาน IT ในบทบาทของให้บริการด้าน IT อย่างเดียวเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง และระบบการศึกษายังไม่สามารถตามความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ทัน
และขณะที่อุปกรณ์ในงานระบบอาคารต่างๆ เริ่มเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล รวมถึงการเกิดขึ้นของ Internet of Things หรือ IoT ในอาคาร ทำให้เกิดช่องว่างทางความรู้อย่างมหาศาลในกลุ่มคนทำงานด้าน FM หรือแม้กระทั่งคนในฝ่าย IT เองก็ตามที่มีความเข้าใจน้อยมากในเรื่อง IoT
ยังไม่ต้องพูดถึงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในเชิงธุรกิจและการบริหารอาคารที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจเรื่อง Big Data, Data Science, Machine Learning (ML) หรือ Artificial Intelligence (AI) ที่หาคนที่เข้าใจและนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้น้อยมาก
คำถามคือ แผนก DDFM ในฝัน ต้องเป็นอย่างไร?
จากประสปการณ์การทำงานสายเทคโนโลยีและการบริหารอาคารมาร่วมสามสิบปี ผมคิดว่า แผนก DDFM ในฝันจำเป็นต้องมีองค์ประกอบหลักๆ 3 สาขาวิชาการดังนี้
ซึ่งแน่นอนว่า เป็นแผนกงานที่แตกต่างและก้าวกระโดดจากงาน FM อย่างที่คุ้นเคยกัน
และคงต้องยอมรับว่า เราไม่สามารถหาตัวพนักงานคนเดียวที่มีความรู้และทักษะครบทั้งสามด้าน. แม้กระทั่งหาคนที่มีความรู้และทักษะที่ดีในแต่ละสาขาก็ยากอยู่พอสมควร
ดังนั้น ก็เป็นเหมือนกับงานใหม่ๆ อื่นๆ ของศตวรรษที่ 21 ที่ต้องเป็นงานที่เป็นการทำงานร่วมกันของคนหลากหลายสาขาวิชาการ (Multi-disciplinary) ในลักษณะร่วมกันคิดร่วมกันทำ (Co-Creation) มากกว่าการทำงานแบบต่างคนต่างทำแยกแผนกแยกความรับผิดชอบกันอย่างเด็ดขาดเหมือนในอดีต
เป็นความท้าทายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้